เอกสารแนบท้าย เล่ม 1 และ 2
1. สำเนา กพ.7 ที่เป็นปัจจุบัน (ขอได้ที่งานการเจ้าหน้าที่)
2. สำเนาใบปริญญา/ประกาศนียบัตร
3. สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
- ชื่อ - สกุล ไม่ตรงต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล
- ถ้าใบประกอบหมดอายุต้องมีหลักฐานการต่ออายุ ใบที่ 1,2...
4. ถ้าปฏิบัติงานฯลฯ ไม่ตรง ต้องมีหนังสือรับรอง
หมายเหตุ : รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
............................................................................................................................................
คัดเลือกหัวหน้าพยาบาล (ตาม ว 679/2555)
ใบสมัครคัดเลือกหัวหน้าพยาบาล
............................................................................................................................................
แบบฟอร์มการประเมินบุคคลและผลงาน ระดับเชี่ยวชาญ
(ตาม ว 16/2538)
นายแพทย์
พยาบาลวิชาชีพ
..............................................................................................................................................
o ประกาศ อ.ก.พ.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 (ตาม ว 960/27 พฤศจิกายน 2557)
- เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษ และเพื่อขอรับเงินประจำตำแหน่งระดับชำนาญการ
- เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินผลงานให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
...............................................................................................................................................
เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงการเขียนผลงานวิชาการ สายงานพยาบาลวิชาชีพ
วันที่ 22 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุมอู่ทอง ชั้น 4 อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร
( 24 มกราคม 2561) การประเมินผลงานวิชาการ เล่มชี้ตัว
แบบประเมินผลงาน
กรณีศึกษา
ขอเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนางาน
แบบฟอร์มการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินผลงาน
ระดับชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ (ตาม ว 10/24 มกราคม 2550)
เอกสารประกอบการคัดเลือกบุคคล เล่ม 1 /(เอกสารประกอบการคัดเลือก และคำอธิบาย) (up date 29-05-2560)
แบบประเมินผลงาน เล่ม 2
ผลงานวิชาการ เล่ม 3
ข้อเสนอแนวคิด เล่ม 4
เอกสารแนบท้าย เล่ม 1 และ 2
1. สำเนา กพ.7 ที่เป็นปัจจุบัน (ขอได้ที่งานการเ้จาหน้าที่)
2. สำเนาใบปริญญา/ประกาศนียบัตร
3. สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
- ชื่อ - สกุล ไม่ตรงต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล
- ถ้าใบประกอบหมดอายุต้องมีหลักฐานการต่ออายุ ใบที่ 1,2...
4. ถ้าปฏิบัติงานฯลฯ ไม่ตรง ต้องมีหนังสือรับรอง
หมายเหตุ : รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
เอกสารที่ต้องส่งในการขอประเมินผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนสูงขึ้น หรือ ขอประเมินเพื่อขอรับเงินประจำตำแหน่ง
เล่ม 1 เอกสารประกอบการคัดเลือกบุคคล
(ผลงานที่แจ้งไว้ตอนคัดเลือก ต้องตรงกับผลงานวิชาการ)
ให้ส่งเล่มที่ 1 ก่อน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามประกอบเอกสารการคัดเลือกฯ และประกาศชื่อผลงานที่จะขอประเมินแล้ว
ให้จัดทำเอกสารผลงานที่ขอประเมินเล่มที่ 2 - 4
เล่มที่ 2 แบบประเมินผลงาน
คณะกรรมการประเมินจะตรวจสอบ 4 ตอน ดังนี้
- ประวัติการรับราชการ
- หน้าที่ความรับผิดชอบปัจจุบัน
- การรับรองผลงาน
- สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
เป็นผลสำเร็จของงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นั้น ให้เสนอสาระสำคัญของผลงาน
ขั้นตอนที่ได้ปฏิบัติ ความรู้ ความสามารถหรือข้อกฎหมาย ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ถึงผลที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงถึงความรู้ความสามารถ
และความชำนาญงานของบุคคล ประโยชน์ที่เกิดจากผลงานดังกล่าว หรือการนำผลงานไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในงานที่ปฏิบัติหรือหน่วยงาน
หรือใช้เสริมยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน หรือเพื่อพัฒนางานปรับปรุงงาน แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
เล่มที่ 3 ผลงานวิชาการฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)
ผลงานวิจัย ประกอบด้วย
บทนำ ทบทวนวรรณกรรม วิธีดำเนินการวิจัย ผลการศึกษาอภิปราย ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา
ผลงานวิเคราะห์วิจารณ์ ประกอบด้วย
บทนำ วัตถุประสงค์ วิเคราะห์ วิจารณ์ ผลที่ได้จากการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
กรณีศึกษา ประกอบด้วย
บทนำ พยาธิสภาพ พยาธิวิทยาของโรค อาการและอาการแสดง ภาวะแทรกซ้อน การดำเนินของโรค การวินิจฉัย การดูแลผู้ป่วยและติดตามผล สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์หรือข้อสังเกต ประโยชน์ที่ได้รับ
เล่มที่ 4 ข้อเสนอแนะแนวคิดในการพัฒนางาน
เป็นวิสัยทัศน์ แนวคิด หรือแผนงาน ที่จะทำในอนาคตเพื่อพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง และมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน รวมทั้งควรเป็นแนวคิด
หรือแผนงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จได้
- ให้เขียนตามหัวข้อที่กำหนด หากเป็นเรื่องต่อยอดจากผลงานวิชาการให้ใช้ชื่อที่ต่อยอด ซึ่งไม่ซ้ำกับชื่อเรื่องผลงานวิชาการ
- ตัวชี้วัด ให้ระบุเป็นตัวเลขหรือร้อยละ
หมายเหตุ ถ้าขอประเมินเลื่อนระดับชำนาญการพิเศษ ให้เพิ่มเอกสารการเผยแพร่ผลงาน เช่น วารสาร จุลสาร หลักฐานการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ (วารสารต้นฉบับ 1 เล่ม สำเนาบทความที่ตีพิมพ์อีก 6 ชุด)
.........................................................................................................................................................................................................
คำอธิบาย
การเขียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (จะต้องเป็นผลงานที่ได้เสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือกบุคคล)
1. ชื่อผลงาน
ระบุชื่อผลงานที่จะนำเสนอ โดยผลงานดังกล่าวจะต้องเป็นผลสำเร็จของงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ความรับผิดชอบของผู้ประเมิน
2. ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ระบุกิจกรรม ช่วงเวลา การดำเนินการ
3. ความรู้ทางวิชาการหรือแนวคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน
ให้ระบุแนวคิด ทฤษฏี องค์ความรู้ และข้อมูลต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน โดยสรุปให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงาน
4. สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินงาน
ระบุหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สาระสำคัญและขั้นตอน หลักการดำเนินการ ซึ่งอาจแสดงเป็นแผนผังการทำงาน (Flow chart) หรือแผนภาพประกอบการอธิบายเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน
5. ผู้ร่วมดำเนินการ
ให้แสดง ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง สังกัดของผู้ร่วมดำเนินการ สัดส่วนความรับผิดชอบของผลงานเป็นร้อยละของผู้ร่วมดำเนินการด้วย (ผู้ขอประเมินควรมีสัดส่วน 80%)
หากเป็นผลงานที่ปฏิบัติเองทั้งหมด 100% ไม่ต้องนำเสนอผู้ร่วมดำเนินการ ให้ใช้เครื่องหมาย ( - ) หรือระบุว่า ปฏิบัติเองทั้งหมด 100 %
6. ส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ
ระบุรายละเอียดของผลงาน พร้อมทั้งสัดส่วนของผลงาน ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน กิจกรรมการดำเนินงาน และสัดส่วนของผลงานเป็นร้อยละที่ผู้เสนอผลงานเป็นผู้ปฏิบัติ
7. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) ให้แสดงผลสำเร็จของงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
7.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ คือ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงาน มีผลสำเร็จในเชิงปริมาณที่เกิดขึ้น มีปริมาณของผลงานเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมาย หรือ ข้อตกลงตามที่กำหนด
7.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ คือผลงานที่ได้แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองแนวคิด ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กระทรวง และจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์เช่น
การตอบสนองความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผลตอบแทนที่ได้จากการดำเนินงาน เช่น การลดค่าใช้จ่าย การลดต้นทุนการผลิต การลดเวลาการปฏิบัติงาน คุณภาพการบริการที่ดีขึ้น
8. การนำไปใช้ประโยชน์
อธิบายการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ ในการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน หากมีการนำผลงานไปใช้ในการพัฒนา ต่อยอด ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานในวงกว้างขึ้น จากเดิมที่เกิดเฉพาะจุด
และประยุกต์แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้อธิบายว่านำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร กับบุคคลเป้าหมายที่ไหน เกิดประโยชน์ต่อผู้รับปริการ และสังคมอย่างไร ให้นำเสนอด้วย อีกทั้งมีผลต่อการพัฒนางาน
ทั้งทางตรงและทางอ้อม
9. ความยุ่งยากในการดำเนินการ/ปัญหา/อุปสรรค
อธิบายความยุ่งยากในการดำเนินงานตามที่ได้นำไปปฏิบัติจริงว่ามีความยุ่งยากอย่างไร เช่น การตัดสินใจแก้ปัญหา การใช้หลักวิชาการ หรือทฤษฏีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การบูรณา การงาน
และ การควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีความยุ่งยากประการใด แต่ไม่ใช้ความยุ่งยากที่เป็นปัญหาาอุปสรรคของการท่ำงาน เช่น ขาดแคลนอัตรากำลัง หรือขาดแคลนงบประมาณ
อธิบายวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานที่เกิดขึ้น ระบุถึงสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุใด มีปัจจัยอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง และอธิบายปัญหาอุปสรรคอะไรที่ทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็น
ไปตามที่คาดหวังไว้ ทั้งในระหว่างการดำเนินงาน และหลังจากสิ้นสุดการดำเนินงานแล้ว
10. ข้อเสนอแนะ
ผู้ขอประเมินมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขอย่างไร เพื่อมิให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก และมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนางาน/ปรับปรุงงานดังกล่าวอย่างไร เป็นการเสนอแนวทางเชิง
สร้างสรรค์เป็นผลงานที่เป็นรุปธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น